Notarial Services Attorney มีหน้าที่อย่างไร

 

ในการปฎิบัติหน้าที่ของทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสารนั้น ทนายความต้องมีความรอบรู้ในกระบวนการจัดทำคำรับรองและจะต้องปฎิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อตรงต่อวิชาชีพ คำรับรองเช่นนั้นก็จะได้รับการยอมรับนับถือว่าเป็นคำรับรองที่มีความถูกต้องตรงตามความเป็นจริง ได้รับการยอมรับเป็นการทั่วไปว่าทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสารได้ปฎิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล คำรับรองของทนายความผู้ทำคำรับรองก็จะได้รับการยอมรับจากบุคคลทุกฝ่ายไม่ว่าในประเทศไทยหรือต่างประเทศ ขอบเขตการทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร มีขั้นตอนในการปฎิบัติอย่างไร มีวิธีการเช่นใด อธิบายได้พอสังเขป ดังนี้

 

 

  1. หน้าที่ในการทำคำรับรอง
    1. รับรองลายมือชื่อ (signature witnessing) หน้าที่หลักของทนายความ คือ การเป็นพยานรับรองลายมือชื่อ เพื่อแสดงว่าบุคคลผู้ปรากฏต่อหน้าได้ลงลายมือชื่อในเอกสารต่อหน้าทนายความผู้ทำคำรับรองในขณะนั้นจริงและลายมือชื่อเป็นของบุคคลนั้นจริง ทั้งนี้ มิได้เป็นการรับรองในเนื้อหาหรือข้อความที่ระบุไว้ในเอกสารใด ๆ
    2. การยืนยันการรับรู้ (Acknowledgement ) คือการรับรองเหตุการณ์ที่ปรากฎต่อหน้าทนายความผู้ทำคำรับรองนั้นได้มายืนยันต่อทนายความผู้ทำคำรับรองว่าตนเองได้กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งมาแล้ว และขอยืนยันต่อหน้าทนายความผู้รับรองลายมือชื่อว่าในขณะที่ตนเองได้กระทำการนั้น บุคคลดังกล่าวมีความรับรู้และเข้าใจในกิจการที่ตนเองได้ลงไป เช่น บุคคลนั้นได้มาปรากฎต่อหน้าทนายความผู้ทำคำรับรอง และได้ยืนยันกับทนายความว่าตนเองได้ลงลายมือชื่อในสัญญานั้นจริง โดยขณะที่ลงลายมือชื่อนั้นตนเองไม่ได้ถูกบังคับขู่เข็ญ ถูกข่มขืนใจ หรือถูกฉ้อฉลให้ลงลายมือชื่อนั้น โดยตนเองได้ลงลายมือชื่อนั้นขณะที่มีสติสัมปะชัญญะสมบูรณ์ทุกประการ ในกรณีนี้ ทนายความก็สามารถที่จะบันทึกเหตุการณ์นั้นไว้และทำคำรับรองเช่นนั้นได้ ดังนั้น การยืนยันการรับรู้ จึงแตกต่างกับ การทำคำรับรองลายมือชื่อ กล่าวคือ บุคคลที่ปรากฎต่อหน้าทนายความเป็นบุคคลผู้ลงลายมือชื่อด้วยตนเอง แตกต่างกันเพียง บุคคลนั้นได้ลงลายมือชื่อมาก่อนแล้ว มายืนยันการลงลายมือชื่อนั้นภายหลัง เพื่อยืนยันต่อหน้าทนาย ส่วน บุคคลนั้นมาลงลายมือชื่อขณะหรือปรากฎต่อหน้าทนาย เพื่อให้ทนายรับรองลายมือชื่อว่า เป็นการลงลายมือชื่อบุคคลผู้นั้นเป็นความจริง
    3. การรับรองการแปล (Notarized Translation) คือ การที่ทนายได้รับรองว่าบุคคลผู้แปลเอกสารได้มาปรากฎต่อหน้าตนเอง และได้ยืนยันว่าตนเองเป็นผู้แปลเอกสารนั้น โดยข้อความที่แปลนั้นเป็นข้อความที่ถูกต้อง ทั้งนี้ มิได้รับรองเนื้อหาหรือคุณภาพของการแปลหรือของผู้แปลเอกสารนั้น ทนายผู้ทำคำรับรองจึงไม่ต้องตรวจสอบคุณภาพของคำแปลในเอกสารนั้น เพราะเป็นการรับรองการแปล ไม่ใช่การรับรองคำแปล เว้นแต่ ทนายผู้นั้นมีความสามารถในการแปลเอกสารได้
    4. การรับรองความถูกต้องตรงกันของเอกสาร (Notarized Copy) คือการรับรองสำเนาเอกสาร เพื่อแสดงว่าทนายได้ตรวจเอกสารสำเนาที่ทำขึ้นแล้ว ตรงกับต้นฉบับจริง ทั้งนี้ มิได้รับรองเนื้อหาว่าเอกสารต้นฉบับนั้นได้ทำขึ้นโดยถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เช่น การนำสำเนาพินัยกรรมพร้อมต้นฉบับมาให้ทนายรับรอง กรณีนี้ ทนายจะตรวจความถูกต้องและรับรองเพียงข้อความถูกต้องตรงกันเท่านั้น มิได้รับรองว่า พินัยกรรมต้นฉบับเป็นจริงหรือไม่ มิได้รับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมเป็นจริงหรือไม่
    5. การรับรองการยืนยันตามหนังสือถ้อยแถลง (Notarized Affidavit) คือการรับรองว่าบุคคลที่ปรากฎต่อหน้าทนายนั้นได้มายืนยันต่อหน้าทนายผู้รับรองว่าตนเองเป็นผู้ได้จัดทำหนังสือถ้อยแถลงขึ้น โดยอาจมีการสาบานตนรับรองเนื้อหาหรือข้อความในเอกสารว่าเป็นความจริงและรับรู้ว่าการยืนยันโดยข้อความอันเป็นเท็จต้องถูกลงโทษตามกฎหมายด้วยก็ได้ โดยส่วนใหญ่ บุคคลนั้นประสงค์จะนำไปใช้ในคดีความต่าง ๆ ในศาล ทั้งนี้ การรับรองประเภทนี้ ทนายไม่ได้รับรองข้อเท็จจริงหรือเนื้อหาที่ปรากฎอยู่ในหนังสือถ้อยแถลงนั้น ทนายเพียงรับรองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าบุคคลนั้นมายืนยันการจัดทำหนังสือถ้อยแถลงนั้นจริง พร้อมสาบนตนรับรอง เท่านั้น
    6. การรับรองสถานนิติบุคคล อำนาจและลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจ เอกสารเหล่านี้จะเป็นเอกสารมหาชนที่บุคคลภายนอกสามารถตรวจสอบได้ ทนายผู้ทำคำรับรองจะต้องเข้าไปตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของเอกสารมหาชนเพื่อทำคำรับรอง และยังสามารถรับรองความถูกต้องของเนื้อหาที่ปรากฎอยู่ในเอกสารมหาชนนั้นได้

In performing the duties of a lawyer who certifies the signature and documents Attorneys must be well versed in the certification process and must act with integrity in their profession. Such an endorsement will be accepted as a valid representation. It is generally accepted that attorneys who certify signatures and documents have performed their duties in accordance with international standards. The certifying attorney’s testimonial will be accepted by all parties whether in Thailand or abroad. Scope of certifying signatures and documents What are the steps to follow? Is there any way It can be explained briefly as follows:

Responsibilities of Certification
Signature witnessing A lawyer’s primary function is to certify a signature. to show that the person appearing in person has actually signed the document in the presence of the attorney making the certifying at that time and that the signature is actually that person’s, but does not certify the content or statement specified in any document
confirmation of recognition (Acknowledgement) is to certify events that appear in front of the attorney who certifies that the attorney who certifies that he has done one of these things. and would like to confirm in the presence of a lawyer who certifies his name at the time of doing so Such persons have knowledge and understanding of their own affairs, for example, that person has appeared in front of a certified attorney. and confirmed with the lawyer that he had actually signed the contract While signing the signature, he was not coerced, coerced, or cheated to sign it. In this case, the attorney was able to record the incident and make such an endorsement. therefore different from Certification of signature, that is, the person appearing in front of the lawyer is the person who signs by himself. just different That person has already signed. to confirm that signature later To confirm in front of a lawyer, that person signing while or appearing in front of the lawyer for a lawyer to certify his signature It is the signature of the person who is true.
Notarized translation is where the lawyer certifies that the person translating the document has appeared in front of him. and confirmed that he was the translator of that document The translated text is correct, but does not certify the content or quality of the translation or the translator of that document. The certified lawyer therefore does not have to verify the quality of the translations in the document. because it is a certified translation It is not an endorsement of translations unless the lawyer is capable of translating documents.
Notarized Copy Authentication is the certifying of copies of documents. To show that the lawyer has checked the copy of the document that has been made. It does not certify the content that the original document was made legally or not, such as bringing a copy of the will along with the original to the lawyer to certify. In this case, the lawyer will check the correctness and certify only the correct statement. does not certify that Is the original will true? Did not certify the signature of the testator as true or not?
Notarized Affidavit is the certifying that the person appearing before the attorney has confirmed before the attorney who certifies that he or she has prepared the statement. They may take an oath to certify the content or statements of a document to be true and to recognize that assertions made by false statements are subject to legal penalties. In most cases, the person wishes to use them in court cases. This type of certification The attorney does not endorse the facts or the content contained in the statement. The lawyer only certifies the incident that the person has actually confirmed the making of the statement. Ready to swear only
Certification of juristic person Powers and signatures of authorized directors These documents are public documents that can be verified by outsiders. The certifying attorney must go to verify the authenticity of the public documents for certification. and can also certify the authenticity of the content that appears in that public document